อักษรวิ่ง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

อักษรวิ่ง

เทคโนโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2562

แผลงูกัด

แผลงูกัด หากไม่สามารถจดจำลักษณะของงูหรือไม่ทราบชนิดของงูที่กัด ให้ผู้ช่วยเหลือและผู้ป่วยพึงสงสัยไว้ก่อนได้เลยว่างูที่กัดอาจมีพิษ และรีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากแพทย์โดยทันที ทั้งนี้ อาการที่เกิดจากบาดแผลงูพิษอาจสังเกตได้จากการหายใจลำบาก หรือหมดสติ ในทางตรงกันข้ามถ้าทราบแน่ชัดแล้วว่างูที่กัดเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีพิษ ให้รักษาแผลเหมือนกับการรักษาแผลถูกของมีคมบาด และควรจดจำลักษณะของงูเอาไว้ให้ดี เมื่อผู้เชี่ยวชาญมาจะได้บอกรายละเอียดของงูได้ถูกต้อง ทั้งนี้ การปฐมพยาบาลเบื้องต้นบาดแผลงูกัดในระหว่างรอความช่วยเหลือควรปฏิบัติ ดังนี้ รีบพาผู้ป่วยหนีออกห่างจากงู และให้ผู้ป่วยนอนลง ผู้ช่วยเหลือควรพยายามทำให้ผู้ป่วยรู้สึกสงบ เคลื่อนไหวแขน ขา หรือส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อไม่ให้พิษแพร่กระจาย พยายามจัดตำแหน่งให้บริเวณที่ถูกงูกัดอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าหัวใจ เช่น หากถูกงูกัดที่มือหรือเท้าให้ห้อยลงต่ำ ปิดแผลด้วยพลาสเตอร์ปิดแผลแบบปราศจากเชื้อ ถอดเครื่องประดับที่อยู่ใกล้เคียงกับแผลออก หรือถอดรองเท้าหากถูกกัดที่ขา หรือเท้า ในระหว่างรอความช่วยเหลือ ห้ามกรีดบริเวณบาดแผล ดูดพิษ ขันชะเนาะ ล้างแผลด้วยน้ำ ประคบน้ำแข็ง ใช้ไฟหรือเล็กร้อนจี้บริเวณที่ถูกงูกัด ให้ใช้เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน หรือแอลกอฮอล์ รวมทั้งห้ามรักษาด้วยยาชนิดอื่นโดยเด็ดขาด ห้ามผู้ป่วยเดินเท้าในระหว่างการเดินทางไปยังสถานพยาบาล ให้ผู้ป่วยนั่งรถหรือแคร่หาม เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพิษงูไปทั่วร่างกาย

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เป็นลม



เป็นลม
อาการเป็นลมเกิดขึ้นจากภาวะเลือดเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ ทำให้ผู้ป่วยหมดสติชั่วคราว การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อเป็นลมอาจทำได้ดังนี้
  • ในกรณีที่ตัวเรามีอาการเป็นลมซึ่งอาจสังเกตได้จากอาการที่เกิดฉับพลัน เช่น รู้สึกหน้ามืด ตาพร่าลาย หรือเวียนศีรษะ ให้รีบล้มตัวนอนหรือนั่งพัก โดยขณะมีอาการให้นั่งในท่าโน้มศีรษะลงมาอยู่ระหว่างเข่าพร้อมกับหายใจเข้าลึกเต็มปอด หากรู้สึกดีขึ้นจึงค่อย ๆ ลุกขึ้น ทั้งนี้ผู้ป่วยไม่ควรรีบลุกขึ้นเร็วจนเกินไปเนื่องจากอาจเป็นลมซ้ำได้
  • ในกรณีที่พบผู้ป่วยเป็นลม ควรช่วยจัดท่าทางให้ผู้ป่วยนอนหงายราบ และยกขาขึ้นให้อยู่เหนือระดับหัวใจ (ประมาณ 30 เซนติเมตร) เพื่อให้โลหิตไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงสมองได้ง่ายขึ้น รวมทั้งปลดเข็มขัด ปกคอเสื้อ หรือเสื้อผ้าส่วนอื่น ๆ ที่รัดแน่น เพื่อช่วยลดโอกาสเป็นลมซ้ำ หากผู้ป่วยฟื้นขึ้น อย่าเพิ่งให้ลุกขึ้นเร็วจนเกินไป และให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานแพทย์หรือกู้ชีพ
  • สังเกตดูว่าผู้ป่วยอาเจียน และหายใจได้สะดวกดีหรือไม่
  • สังเกตการไหลเวียนโลหิต ซึ่งดูได้จากการหายใจ อาการไอ หรือการเคลื่อนไหว หากพบความผิดปกติว่าผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้รีบติดต่อขอความช่วยเหลือ แล้วทำ CPR (การปั๊มหัวใจ)ไปเรื่อย ๆ จนกว่าผู้ป่วยจะมีสัญญาณชีพจรและกลับมาหายใจได้อีกครั้ง หรือเมื่อความช่วยเหลือมาถึง
  • ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นลมล้มลงจนได้รับบาดเจ็บ ไม่ว่าจะเป็นบาดแผลฟกช้ำ หรือแผลที่มีเลือดออก ให้ดูแลบาดแผลและกดแผลห้ามเลือด
  • ให้ผู้ช่วยเหลือพาผู้ป่วยที่เป็นลมไปอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนจอแจ และให้ดมแอมโมเนีย หรือยาดม เพื่อบรรเทาอาการ โดยผู้ช่วยเหลืออาจใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดหน้าควบคู่ไปด้วยได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยยังไม่มีอาการดีขึ้น ควรรีบพาส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์

หัวแตก

หัวแตก

ใบหน้าและหนังศีรษะเป็นส่วนที่มีเส้นเลือดใกล้ผิวชั้นนอกมาก ดังนั้น รอยแผลหัวแตกมักจะมีเลือดไหลออกมาก ในกรณีที่บาดแผลลึกถึงกระโหลกศีรษะ ผู้ป่วยควรได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน แต่ในกรณีที่บาดแผลไม่สาหัส อาจปฐมพยาบาลห้ามเลือดได้เองที่บ้าน โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

  • กดแผลห้ามเลือด หากเป็นไปได้ให้ล้างมือ หรือสวมถุงมือกันเชื้อโรคทุกครั้ง
  • ให้ผู้ป่วยนอนลง หากมีสิ่งแปลกปลอมติดอยู่กับแผล ให้เอาออกให้หมด
  • ใช้ผ้าพันแผล หรือผ้าสะอาดกดแผลไว้ให้แน่น 15 นาที อย่าหยุดกดจนกว่าจะครบเวลา หากเลือดซึมผ่านผ้า ให้ใช้ผ้าสะอาดผืนใหม่แปะแล้วกดต่อ
  • ในกรณีที่บาดแผลค่อนข้างสาหัสและเลือดยังไม่ยอมหยุดไหล ให้กดแผลต่อไปเรื่อย ๆ ระหว่างรอความช่วยเหลือ พยายามให้แผลสะอาดและหลีกเลี่ยงไม่ให้บาดเจ็บซ้ำอีก
  • ในกรณีที่บาดแผลไม่ร้ายแรง หลังจากกดแผลไว้แล้ว 15 นาที เลือดมักจะหยุดไหลได้เอง หรืออาจไหลซึมอยู่บ้างประมาณ 45 นาที
  • หากผู้ช่วยเหลือสังเกตพบว่ามีอาการแตกร้าวของกระโหลก ให้ปิดแผลด้วยผ้าพันแผลที่สะอาดปราศจากเชื้อโรค โดยห้ามออกแรงกดห้ามเลือดโดยตรง หรือหลีกเลี่ยงแตะต้องเศษเนื้อตายที่บริเวณบาดแผล
  • บาดแผลที่มีอาการบวม บรรเทาลงได้ด้วยการประคบน้ำแข็ง
  • เฝ้าสังเกตอาการหมดสติ หรือช็อก